Wednesday, May 30, 2007

ผู้รักษาประตู

ผู้รักษาประตู (Goal Keeper) เป็นตำแหน่งในการเล่นกีฬาหลายประเภทมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ทีมฝ่ายตรงข้ามทำคะแนนได้ โดยการป้องกันลูกบอลหรืออุปกรณ์อื่นเข้าสู่ประตู กีฬาที่มีผู้รักษาประตูได้แก่ ฟุตบอล ฮอกกี้ ไอซ์ฮอกกี้ โปโลน้ำ ลาครอสส์
ในการแข่งขันฟุตบอล อักษรย่อของผู้รักษาประตูคือ GK



ความสำคัญ
ตามกฏกติกาของฟุตบอลนั้นกำหนดไว้ว่า ทีมๆ หนึ่งสามารถส่งผู้เล่นลงสนามได้ไม่เกิน 11 คน และต้องไม่ต่ำกว่า 7 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นบังคับว่าต้องเป็นผู้รักษาประตู และในทีมๆ หนึ่งห้ามส่งผู้เล่นทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูในสนามเกิน 1 คน และเวลาที่ผู้เล่นบาดเจ็บหนัก ถ้าเป็นผู้เล่นโดยทั่วๆ ไปบาดเจ็บจะถูกแพทย์สนามหามออกนอกสนามแล้วหลังจากที่ผู้เล่นนั้นถูกหา�! ��ออกนอกสนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกมจะดำเนินต่อไป แต่ในกรณีของผู้รักษาประตูเจ็บหนักนั้นกรรมการจะเป่าหยุดเกมแล้วจึงปฐมพยาบาล ถ้าผู้รักษาประตูที่บาดเจ็บเล่นไหวเกมจึงจะดำเนินต่อ ถ้าไม่ไหวจึงจะมีการเปลี่ยนตัว
จากที่บอกไว้ว่า แต่ละทีมต้องมีผู้รักษาประตูลงสนามเสมอ ในกรณีที่ผู้รักษาประตูเจ็บหนักไม่สามารถลงเล่นต่อได้ต้องเปลี่ยนตัวให้ผู้รักษาประตูสำรองลงสนามแทน (ในรายชื่อตัวสำรองตามปกติผู้จัดการทีมจะใส่ชื่อผู้รักษาประตูเอาไว้ด้วยเสมอ) ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินจริงๆ เช่น ในทีมใช้โควต้าเปลี่ยนตัวผู้เล่นจนครบโควต้าแล้วเกิดเหตุการณ์ที่ผู้รักษาประตูในทีมเ! จ็บหนักหรือถูกใบแดงไล่ออกจากสนาม ในทีมก็จะมีการแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งในสนามเป็นผู้รักษาประตูแทน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า ผู้รักษาประตูจำเป็น)


บิ๊กทเวลฟ์

กลุ่มบิ๊กทเวลฟ์ (Big 12 Conference) เป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่รวมตัวกัน 12 แห่งในการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และบิ๊กทเวลฟ์เป็นกลุ่มสมาชิกของเอ็นซีดับเบิลเอดิวิชัน 1 สำหรับกีฬาทุกชนิด ยกเว้น อเมริกันฟุตบอลอยู่ดิวิชัน I-A
บิ๊กทเวลฟ์ก่อตั้งเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 หลังจากที่กลุ่มบิ๊กเอท รวมเข้ากับอีก 4 มหาวิทยาลัย ในปัจจุบันบิ๊กทเวลฟ์ มีมหาวิทยาลัยดังนี้
บิ๊กทเวลฟ์ ส่วนเหนือ
บิ๊กทเวลฟ์ ส่วนใต้

มหาวิทยาลัยแคนซัส
มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต
มหาวิทยาลัยโคโลราโด
มหาวิทยาลัยเนแบรสกา
มหาวิทยาลัยมิสซูรี
มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต
มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์
มหาวิทยาลัยเทกซัส
มหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม
มหาวิทยาลัยเทกซัสเทค
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาสเตต

Monday, May 28, 2007

นิคหิต

นิคหิต หรือ นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง (-ํ) มีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ ใช้ประสมสระ อึ และ อำ
ในการเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย เราจะใช้นิคหิตแทนอักษร อํ (อัง) สำหรับเติมเหนือพยัญชนะ


Sunday, May 27, 2007

ขบวนรถด่วน

ขบวนรถด่วน (Express) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ
ปัจจุบันมีบริการจำนวน 18 ขบวน

ชนิดรถที่ให้บริการ

รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 - 3 (บสส.)
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซม.ป.)
รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)
ขบวนรถด่วนที่ 51/52 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 67/68 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 69/70 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพ - ตรัง - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 71/74 กรุงเทพ - ศรีสะเกษ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 73/72 กรุงเทพ - ศีขรภูมิ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 75/78 กรุงเทพ - อุดรธานี - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 77/76 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
ซาโซริ


อากาซึนะ โนะ ซาโซริ ตัวละครการ์ตูนเรื่องนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เป็นอดีตหน่วยเชิดหุ่นของซึนะตอนท้ายถูกย่าโจกับซากุระซากุระสังหาร

ซาโซริเป็นหลานของโจ(จิโยะ)ดัดแปลงตัวเองเป็นหุ่นเชิดมนุษย์มีวิชาเชิดร้อยหุ่น ได้เข้าไปอยู่ในองค์กรแสงอุษา และได้จับคู่กับเดอิดาระ ซาโซริมีความสามารถที่จะเชิดคู่ต่อสู้ได้ในเวลาที่เขาต่อสู้ เขาเป็นนินจาที่เก่งทีเดียวและเขาก็เป็นคนสร้างหุ่นเชิดต่างๆของคันคุโร่ แถมยังถูกตั้งข้อหาว่าสังหารคาเสะคางะของซึนะรุ่นก่อนพ่อกาอาระ และเวลาปรกติก็เอา! ตัวหุ่นออกมา แต่ร่างจริงซ่อนตัวอยู่ สุดท้ายตายเพราะถูกย่าโจ(จิโยะ)กับซากุระร่วมมือกันกำจัด แต่การโจมตีของย่าโจนั้นเขาสามารถหลบได้ แต่เขาไม่หลบ


Saturday, May 26, 2007

มณีปิ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ เป็นนักภาษาไทย ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นนักวิชาการด้านภาษาไทย ที่ชำนาญทางภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤตด้วย



การศึกษา

อักษรศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย(เกียรตินิยม) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
MA & PhD (Oriental Studies) จากวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (School of Oriental and African Studies, University of London)
เขตสงวนอินเดียนแดง

เขตสงวนอินเดียนแดง (Indian reservation) เป็นเขตแดนในสหรัฐอเมริกาที่ๆทางรัฐบาลสหรัฐ เตรียมไว้สำหรับจัดให้ชาวอินเดียนแดงโดยรัฐบาลประกาศคำสั่ง ให้ชาวอินเดียนแดงทุกคนย้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1876 ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าบเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณต่อมนุษย์
ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 300 เขตสงวนซึ่งบางเผ่าอาจจะมีอยู่ภายในหลายเขตสงวน โดยมี 9 เขตสงวนที่ใหญ่กว่า 5,000 กม² และ 12 เขตสงวนที่มีขนาดใหญ่กว่า 3,000 กม² โดยในแต่ละเขตสงวนจะมีดินแดนที่ต่างกัน รวมถึงภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นดินในบางดินแดนไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้
ในปี ค.ศ. 1987 กฎหมายที่ให้ชาวอินเดียนแดงเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายผ่านสภา ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหวังว่าชาวอินเดียนแดงสามารถมีรายได้เพียงพอสำหรับคนในเผ่า ภายใต้ชื่อว่า "1988 Indian Gaming Regulatory Act"

Friday, May 25, 2007

ลินุกซ์ซิส

ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux Simple Internet Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่ ต้นแบบมาจาก ลินุกซ์ ซึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นโดย Nectec และกระทรวงICT ซึ่งเป็นโครงการ รหัสเปิด (โอเพนซอร์ส) ซึ่งทุกคนสามารถพัฒนามันได้




แหล่งข้อมูลอื่น

โครงการลินุกซ์ซิส โดยโครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

Thursday, May 24, 2007

สถานีรถไฟกันตัง


สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่บนถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นสถานีรถไฟสุดทางของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน
สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ถึงท่าเทียบเรือกันตัง ซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันทางรถไฟส่วนนี้ถูกชาวบ้านรุกล้ำที่ และไม่มีรางรถไฟส่วนนี้แล้ว
ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยาทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้ามีมุขยื่นประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูบานเฟี้ยมแบบเก่า คงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6



สารบัญ



ตารางเวลาการเดินรถ

หมายเหตุ : ดพ= รถด่วนพิเศษ | ด= รถด่วน | ร= รถเร็ว | ธ= รถธรรมดา | ช= รถชานเมือง | ท= รถท้องถิ่น | น= รถนำเที่ยว | ส= รถสินค้า



เที่ยวล่อง

หมายเหตุ : ดพ= รถด่วนพิเศษ | ด= รถด่วน | ร= รถเร็ว | ธ= รถธรรมดา | ช= รถชานเมือง | ท= รถท้องถิ่น | น= รถนำเที่ยว | ส= รถสินค้า



เที่ยวขึ้น
สถานี

ป้ายสถานี

ที่พักผู้โดยสาร บริเวณหน้าห้องนายสถานี

ป้ายบอกระยะทาง

บ้านพักนายสถานี

เสาประดับไม้ฉลุลาย

ชานชาลา

ห้องควบคุม

ที่พักผู้โดยสาร

เครื่องตราทางสะดวก ในห้องนายสถานี

ไม้ค้ำยันประดับเสา (คันทวย) บริเวณมุขยื่น

ไม้ค้ำยันประดับเสา บริเวณชานชาลา


รหัส  : 4294
ชื่อภาษาไทย  : กันตัง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Kantang
ชื่อย่อภาษาไทย :
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :
ชั้นสถานี  : สถานีชั้น 3
ระบบอาณัติสัญญาณ : ป้ายบอกเขต
พิกัดที่ตั้ง  : กม.ที่ 850+080
ที่อยู่  : ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง จังหวัดตรัง 92110

ข้อมูลจำเพาะ

http://www.railway.co.th/ticket/south.asp
http://www.geocities.com/railsthai/south.htm
http://www.thaitransport-photo.net/railmap/Kantang.htm
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000024298

มลรัฐแมริแลนด์


* รายชื่อเทศมณฑลในมลรัฐแมริแลนด์

1. การ์เร็ตต์ (Garrett): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2415 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลอัลเลกานี (Allegany) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองโอคแลนด์ (Ockland)
2. คาร์รอล (Carroll): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2416 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลบัลติมอร์ และเทศมณฑลเฟรดเดอริค มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเวสมินสเตอร์ (Westminster)
3. คาลเวิร์ต (Calvert): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2197 โดยในครั้งก่อตั้งใช้ชื่อว่าแพทักเซนต์ (Patuxent) แล้วเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในปีพุทธศักราช 2201 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปรินซ์ เฟรเดอริก (Prince Frederick)
4. เคนต์ (Kent): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2185 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเชสเตอร์ทาวน์ (Chestertown)
5. แครอไลน์ (Caroline): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2316 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลดอร์เชสเตอร์ (Dorchester) และเทศมณฑลแห่งพระราชินี แอนน์ส (Queen Anne’s County) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเดนตัน (Denton)
6. ชาล์ส (Charles): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2201 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองลา ปลาตา (La Plata)
7. ซีซิล (Cecil): ก่อตั้งขึ้นเมืองปีพุทธศักราช 2215 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลบัลติมอร์ และเทศมณฑลเคนต์ (Kent) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเอลก์ตัน (Elkton)
8. ซอมเมอร์เซต (Somerset): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2209 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพรินเซส แอนน์ (Princess Anne)
9. ดอร์เชสเตอร์ (Dorchester): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2211 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแคมบริดจ์ (Cambridge)
10. เทศมณฑลแห่งนักบุญแมรี (Saint Mary’s County): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทศักราช 2180 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเลโอนาร์ดทาวน์ (Leonardtown) มณฑลนี้เคยถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโพโตแมค (Potomac) ในปีพุทธศักราช 2197 แต่ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมในอีกสี่ปีต่อมา
11. เทศมณฑลแห่งเจ้าชายจอร์จ (Prince George’s County): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2239 โดยการแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลคาลเวิร์ต (Calvert) และเทศมณฑลชาล์ส (Chales) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอัพเพอร์ มาร์ลโบโร (Upper Marlboro)
12. เทศมณฑลแห่งพระราชินีแอนน์ (Queen Anne’s County): ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2249 โดยการแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลแทลบอต (Talbot) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเซนเตอร์วิลล์ (Centerville)
13. แทลบอต (Talbot): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2205 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลเคนต์ (Kent) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอีสตัน (Easton)
14. บัลติมอร์ (Baltimore): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2202 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองทาวซัน (Towson)
15. เฟรเดอริก (Frederick): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2291 โดยการแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลแห่งเจ้าชายจอร์จ (Prince George’s County) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเฟรเดอริก
16. มอนตโกเมอรี (Montgomery): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2319 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลเฟรเดอริก (Frederick) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองร๊อควิลล์ (Rockville)
17. วอชิงตัน (Washington): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2319 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลเฟรเดอริก (Frederick) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแฮกเกอร์สทาวน์ (Hagerstown)
18. วอร์เคสเตอร์ (Worcester): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2285 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลซอมเมอร์เซต (Somerset) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองสโนว์ ฮิลล์ (Snow Hill)
19. วิโคมิโค (Wicomico): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2410 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลซอมเมอร์เซต (Somerset) และเทศมณฑลวอร์เคสเตอร์ (Worcester) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองซาลิสบิวรี (Salisbury)
20. อัลเลกานี (Allegany): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2332 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลวอชิงตัน (Washington) ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคัมเบอร์แลนด์ (Cumberland)
21. แอน อรันเดล (Anne Arundel): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2193 ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแอนนาโพลิส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลรัฐแมริแลนด์ด้วย เทศมณฑลนี้ เคยถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโพรวิเดนซ์ (Providence) ในปีพุทธศักราช 2197 แต่ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมในอีกสี่ปีต่อมา