Wednesday, May 30, 2007
ผู้รักษาประตู (Goal Keeper) เป็นตำแหน่งในการเล่นกีฬาหลายประเภทมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ทีมฝ่ายตรงข้ามทำคะแนนได้ โดยการป้องกันลูกบอลหรืออุปกรณ์อื่นเข้าสู่ประตู กีฬาที่มีผู้รักษาประตูได้แก่ ฟุตบอล ฮอกกี้ ไอซ์ฮอกกี้ โปโลน้ำ ลาครอสส์
ในการแข่งขันฟุตบอล อักษรย่อของผู้รักษาประตูคือ GK
ความสำคัญ
ตามกฏกติกาของฟุตบอลนั้นกำหนดไว้ว่า ทีมๆ หนึ่งสามารถส่งผู้เล่นลงสนามได้ไม่เกิน 11 คน และต้องไม่ต่ำกว่า 7 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นบังคับว่าต้องเป็นผู้รักษาประตู และในทีมๆ หนึ่งห้ามส่งผู้เล่นทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูในสนามเกิน 1 คน และเวลาที่ผู้เล่นบาดเจ็บหนัก ถ้าเป็นผู้เล่นโดยทั่วๆ ไปบาดเจ็บจะถูกแพทย์สนามหามออกนอกสนามแล้วหลังจากที่ผู้เล่นนั้นถูกหา�! ��ออกนอกสนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกมจะดำเนินต่อไป แต่ในกรณีของผู้รักษาประตูเจ็บหนักนั้นกรรมการจะเป่าหยุดเกมแล้วจึงปฐมพยาบาล ถ้าผู้รักษาประตูที่บาดเจ็บเล่นไหวเกมจึงจะดำเนินต่อ ถ้าไม่ไหวจึงจะมีการเปลี่ยนตัว
จากที่บอกไว้ว่า แต่ละทีมต้องมีผู้รักษาประตูลงสนามเสมอ ในกรณีที่ผู้รักษาประตูเจ็บหนักไม่สามารถลงเล่นต่อได้ต้องเปลี่ยนตัวให้ผู้รักษาประตูสำรองลงสนามแทน (ในรายชื่อตัวสำรองตามปกติผู้จัดการทีมจะใส่ชื่อผู้รักษาประตูเอาไว้ด้วยเสมอ) ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินจริงๆ เช่น ในทีมใช้โควต้าเปลี่ยนตัวผู้เล่นจนครบโควต้าแล้วเกิดเหตุการณ์ที่ผู้รักษาประตูในทีมเ! จ็บหนักหรือถูกใบแดงไล่ออกจากสนาม ในทีมก็จะมีการแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งในสนามเป็นผู้รักษาประตูแทน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า ผู้รักษาประตูจำเป็น)
กลุ่มบิ๊กทเวลฟ์ (Big 12 Conference) เป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่รวมตัวกัน 12 แห่งในการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และบิ๊กทเวลฟ์เป็นกลุ่มสมาชิกของเอ็นซีดับเบิลเอดิวิชัน 1 สำหรับกีฬาทุกชนิด ยกเว้น อเมริกันฟุตบอลอยู่ดิวิชัน I-A
บิ๊กทเวลฟ์ก่อตั้งเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 หลังจากที่กลุ่มบิ๊กเอท รวมเข้ากับอีก 4 มหาวิทยาลัย ในปัจจุบันบิ๊กทเวลฟ์ มีมหาวิทยาลัยดังนี้
บิ๊กทเวลฟ์ ส่วนเหนือ
บิ๊กทเวลฟ์ ส่วนใต้
มหาวิทยาลัยแคนซัส
มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต
มหาวิทยาลัยโคโลราโด
มหาวิทยาลัยเนแบรสกา
มหาวิทยาลัยมิสซูรี
มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต
มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์
มหาวิทยาลัยเทกซัส
มหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม
มหาวิทยาลัยเทกซัสเทค
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาสเตต
Monday, May 28, 2007
Sunday, May 27, 2007
ขบวนรถด่วน (Express) เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วงมากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ
ปัจจุบันมีบริการจำนวน 18 ขบวน
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 - 3 (บสส.)
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซม.ป.)
รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)
ขบวนรถด่วนที่ 51/52 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 67/68 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 69/70 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพ - ตรัง - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 71/74 กรุงเทพ - ศรีสะเกษ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 73/72 กรุงเทพ - ศีขรภูมิ - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 75/78 กรุงเทพ - อุดรธานี - กรุงเทพ
ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 77/76 กรุงเทพ - หนองคาย - กรุงเทพ
อากาซึนะ โนะ ซาโซริ ตัวละครการ์ตูนเรื่องนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ เป็นอดีตหน่วยเชิดหุ่นของซึนะตอนท้ายถูกย่าโจกับซากุระซากุระสังหาร
ซาโซริเป็นหลานของโจ(จิโยะ)ดัดแปลงตัวเองเป็นหุ่นเชิดมนุษย์มีวิชาเชิดร้อยหุ่น ได้เข้าไปอยู่ในองค์กรแสงอุษา และได้จับคู่กับเดอิดาระ ซาโซริมีความสามารถที่จะเชิดคู่ต่อสู้ได้ในเวลาที่เขาต่อสู้ เขาเป็นนินจาที่เก่งทีเดียวและเขาก็เป็นคนสร้างหุ่นเชิดต่างๆของคันคุโร่ แถมยังถูกตั้งข้อหาว่าสังหารคาเสะคางะของซึนะรุ่นก่อนพ่อกาอาระ และเวลาปรกติก็เอา! ตัวหุ่นออกมา แต่ร่างจริงซ่อนตัวอยู่ สุดท้ายตายเพราะถูกย่าโจ(จิโยะ)กับซากุระร่วมมือกันกำจัด แต่การโจมตีของย่าโจนั้นเขาสามารถหลบได้ แต่เขาไม่หลบ
Saturday, May 26, 2007
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ เป็นนักภาษาไทย ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นนักวิชาการด้านภาษาไทย ที่ชำนาญทางภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤตด้วย
การศึกษา
อักษรศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย(เกียรตินิยม) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
MA & PhD (Oriental Studies) จากวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (School of Oriental and African Studies, University of London)
เขตสงวนอินเดียนแดง (Indian reservation) เป็นเขตแดนในสหรัฐอเมริกาที่ๆทางรัฐบาลสหรัฐ เตรียมไว้สำหรับจัดให้ชาวอินเดียนแดงโดยรัฐบาลประกาศคำสั่ง ให้ชาวอินเดียนแดงทุกคนย้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1876 ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าบเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณต่อมนุษย์
ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 300 เขตสงวนซึ่งบางเผ่าอาจจะมีอยู่ภายในหลายเขตสงวน โดยมี 9 เขตสงวนที่ใหญ่กว่า 5,000 กม² และ 12 เขตสงวนที่มีขนาดใหญ่กว่า 3,000 กม² โดยในแต่ละเขตสงวนจะมีดินแดนที่ต่างกัน รวมถึงภูมิประเทศและภูมิอากาศ พื้นดินในบางดินแดนไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้
ในปี ค.ศ. 1987 กฎหมายที่ให้ชาวอินเดียนแดงเปิดคาสิโนอย่างถูกกฎหมายผ่านสภา ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหวังว่าชาวอินเดียนแดงสามารถมีรายได้เพียงพอสำหรับคนในเผ่า ภายใต้ชื่อว่า "1988 Indian Gaming Regulatory Act"
Friday, May 25, 2007
Thursday, May 24, 2007
สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่บนถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นสถานีรถไฟสุดทางของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน
สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ถึงท่าเทียบเรือกันตัง ซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันทางรถไฟส่วนนี้ถูกชาวบ้านรุกล้ำที่ และไม่มีรางรถไฟส่วนนี้แล้ว
ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยาทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้ามีมุขยื่นประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูบานเฟี้ยมแบบเก่า คงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
สารบัญ
ตารางเวลาการเดินรถ
หมายเหตุ : ดพ= รถด่วนพิเศษ | ด= รถด่วน | ร= รถเร็ว | ธ= รถธรรมดา | ช= รถชานเมือง | ท= รถท้องถิ่น | น= รถนำเที่ยว | ส= รถสินค้า
เที่ยวล่อง
หมายเหตุ : ดพ= รถด่วนพิเศษ | ด= รถด่วน | ร= รถเร็ว | ธ= รถธรรมดา | ช= รถชานเมือง | ท= รถท้องถิ่น | น= รถนำเที่ยว | ส= รถสินค้า
เที่ยวขึ้น
สถานี
ป้ายสถานี
ที่พักผู้โดยสาร บริเวณหน้าห้องนายสถานี
ป้ายบอกระยะทาง
บ้านพักนายสถานี
เสาประดับไม้ฉลุลาย
ชานชาลา
ห้องควบคุม
ที่พักผู้โดยสาร
เครื่องตราทางสะดวก ในห้องนายสถานี
ไม้ค้ำยันประดับเสา (คันทวย) บริเวณมุขยื่น
ไม้ค้ำยันประดับเสา บริเวณชานชาลา
รหัส : 4294
ชื่อภาษาไทย : กันตัง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Kantang
ชื่อย่อภาษาไทย :
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :
ชั้นสถานี : สถานีชั้น 3
ระบบอาณัติสัญญาณ : ป้ายบอกเขต
พิกัดที่ตั้ง : กม.ที่ 850+080
ที่อยู่ : ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง จังหวัดตรัง 92110
ข้อมูลจำเพาะ
http://www.railway.co.th/ticket/south.asp
http://www.geocities.com/railsthai/south.htm
http://www.thaitransport-photo.net/railmap/Kantang.htm
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000024298
มลรัฐแมริแลนด์
* รายชื่อเทศมณฑลในมลรัฐแมริแลนด์
1. การ์เร็ตต์ (Garrett): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2415 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลอัลเลกานี (Allegany) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองโอคแลนด์ (Ockland)
2. คาร์รอล (Carroll): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2416 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลบัลติมอร์ และเทศมณฑลเฟรดเดอริค มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเวสมินสเตอร์ (Westminster)
3. คาลเวิร์ต (Calvert): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2197 โดยในครั้งก่อตั้งใช้ชื่อว่าแพทักเซนต์ (Patuxent) แล้วเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในปีพุทธศักราช 2201 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปรินซ์ เฟรเดอริก (Prince Frederick)
4. เคนต์ (Kent): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2185 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเชสเตอร์ทาวน์ (Chestertown)
5. แครอไลน์ (Caroline): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2316 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลดอร์เชสเตอร์ (Dorchester) และเทศมณฑลแห่งพระราชินี แอนน์ส (Queen Anne’s County) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเดนตัน (Denton)
6. ชาล์ส (Charles): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2201 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองลา ปลาตา (La Plata)
7. ซีซิล (Cecil): ก่อตั้งขึ้นเมืองปีพุทธศักราช 2215 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลบัลติมอร์ และเทศมณฑลเคนต์ (Kent) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเอลก์ตัน (Elkton)
8. ซอมเมอร์เซต (Somerset): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2209 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองพรินเซส แอนน์ (Princess Anne)
9. ดอร์เชสเตอร์ (Dorchester): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2211 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแคมบริดจ์ (Cambridge)
10. เทศมณฑลแห่งนักบุญแมรี (Saint Mary’s County): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทศักราช 2180 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเลโอนาร์ดทาวน์ (Leonardtown) มณฑลนี้เคยถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโพโตแมค (Potomac) ในปีพุทธศักราช 2197 แต่ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมในอีกสี่ปีต่อมา
11. เทศมณฑลแห่งเจ้าชายจอร์จ (Prince George’s County): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2239 โดยการแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลคาลเวิร์ต (Calvert) และเทศมณฑลชาล์ส (Chales) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอัพเพอร์ มาร์ลโบโร (Upper Marlboro)
12. เทศมณฑลแห่งพระราชินีแอนน์ (Queen Anne’s County): ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2249 โดยการแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลแทลบอต (Talbot) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเซนเตอร์วิลล์ (Centerville)
13. แทลบอต (Talbot): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2205 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลเคนต์ (Kent) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอีสตัน (Easton)
14. บัลติมอร์ (Baltimore): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2202 มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองทาวซัน (Towson)
15. เฟรเดอริก (Frederick): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2291 โดยการแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลแห่งเจ้าชายจอร์จ (Prince George’s County) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเฟรเดอริก
16. มอนตโกเมอรี (Montgomery): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2319 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลเฟรเดอริก (Frederick) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองร๊อควิลล์ (Rockville)
17. วอชิงตัน (Washington): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2319 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลเฟรเดอริก (Frederick) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแฮกเกอร์สทาวน์ (Hagerstown)
18. วอร์เคสเตอร์ (Worcester): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2285 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลซอมเมอร์เซต (Somerset) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองสโนว์ ฮิลล์ (Snow Hill)
19. วิโคมิโค (Wicomico): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2410 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลซอมเมอร์เซต (Somerset) และเทศมณฑลวอร์เคสเตอร์ (Worcester) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองซาลิสบิวรี (Salisbury)
20. อัลเลกานี (Allegany): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2332 โดยแยกตัวออกมาจากเทศมณฑลวอชิงตัน (Washington) ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคัมเบอร์แลนด์ (Cumberland)
21. แอน อรันเดล (Anne Arundel): ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2193 ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแอนนาโพลิส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมลรัฐแมริแลนด์ด้วย เทศมณฑลนี้ เคยถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโพรวิเดนซ์ (Providence) ในปีพุทธศักราช 2197 แต่ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมในอีกสี่ปีต่อมา
Subscribe to:
Posts (Atom)