Saturday, October 13, 2007
สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก ตั้งอยู่บ้านหนองปลาดุก หมู่ 6 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 4 เป็นชุมทางที่แยกไปรถไฟสายใต้ รถไฟสายตะวันตก และทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
เที่ยวล่อง
หมายเหตุ : ดพ= รถด่วนพิเศษ | ด= รถด่วน | ร= รถเร็ว | ธ= รถธรรมดา | ช= รถชานเมือง | ท= รถท้องถิ่น | น= รถนำเที่ยว | ส= รถสินค้า
Friday, October 12, 2007
โคโนกะ โคโนเอะ เป็นตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ!
เด็กสาวผู้มีนิสัยอ่อนโยนใจดีเป็นเพื่อนของ อาซึนะ คากุระซากะ และ เนกิ สปริงฟิลด์ ชอบดูดวงและมีพลังเวทมนตร์สูงเนื่องจากเธอมาจากครอบครัวองเมียวที่มีพลังแข็งแกร่งและมีฐานะทางสังคมสูง (พ่อของเธอเป็นหัวหน้าของสมาคมเวทมนตร์แห่งคันไซ และแม่ของเธอเป็นลูกสาวของผู้อำนวยการโรงเรียนมาโฮระ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสมาคมเวทมนตร์แห่งคันโตด้วย) โคโนกะเป็นนักเรียนคนที่สี่ที่(ในอะนิเมะภาคเนกิมะ!?เป็นคนที่ 3 และในอะนิเมะภาคแรก เธอทำพันธสัญญากับ เซ็ตสึนะ)เนกิทำพันธสัญญาชั่วคราวด้วยแต่เธอไม่รู้ว่าเธอมีพลังในการรักษาในตอนแรก เธอมีพลังรักษาแผลและอาการเจ็บป่วยต่างๆ โคโนกะสนิทกับ เซ็ตซึนะ ซากุระซากิ มากจนบางครั้งดูเหมือนทั้งสองจะเป็นคู่รักกัน
ซาโยะ ไอซากะ
ยูนะ อาคาชิ
คาซึมิ อาซากุระ
ยูเอะ อายาเซะ
อาโกะ อิซึมิ
อากิระ โอโคอุจิ
มิสะ คาคิซากิ
อาซึนะ คากุระซากะ
มิโซระ คาซึกะ
ชาช่ามารุ คาราคุริ
มาโดกะ คุกิมิยะ
คู เฟย
โคโนกะ โคโนเอะ
ฮารุนะ ซาโอโตะเมะ
เซ็ตซึนะ ซากุระซากิ
มากิเอะ ซาซากิ
ซากุระโกะ ชิอินะ
มานะ ทัตซึมิยะ
เจ้า หลินเฉิง
คาเอเดะ นางาเซะ
ชิซุรุ นาบะ
ฟูกะ นารุทากิ
ฟุมิกะ นารุทากิ
ซาโตมิ ฮาคาเซะ
จิซาเมะ ฮาเซกาว่า
เอวานเจลีน เอ เค แม็คโดเวลล์
โนโดกะ มิยาซากิ
นัตซึมิ มุราคามิ
อายากะ ยูกิฮิโระ
ซัตสึกิ โยทสึบะ
ซาซี่ เรนนีเดย์
Thursday, October 11, 2007
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา หรือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (พ.ศ. 2382 - พ.ศ. 2447) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระอัยยิยา (ยาย) ของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เจ้าจอมมารดาเปี่ยม เป็นธิดาหลวงอาสาสำแดง (แดง) และท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล) ต้นราชินีกูลสุจริตกุล เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระชนนีในพระราชโอรส พระราชธิดา จำนวน 6 พระองค์ คือ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนยศให้เป็น เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ 2428 เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2447 ได้รับการสถาปนาพระอัฐิเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีหมายความว่า พระราชชนนีในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466
สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี · พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา · เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ · เจ้าจอมมารดาน้อย · เจ้าจอมมารดาแพ · เจ้าจอมมารดาพึ่ง · เจ้าจอมมารดาจันทร์ · เจ้าจอมมารดาเที่ยง · เจ้าจอมมารดาตลับ · เจ้าจอมมารดาเอี่ยม · เจ้าจอมมารดาเกศ · เจ้าคุณจอมมารดาสำลี · เจ้าจอมมารดากลิ่น · เจ้าจอมมารดาบัว · เจ้าจอมมารดามาไลย · เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ · เจ้าจอมมารดาเอม · เจ้าจอมมารดาหรุ่น · เจ้าจอมมารดาแก้ว · เจ้าจอมมารดาโหมด · เจ้าจอมมารดาหุ่น · เจ้าจอมมารดาดวงคำ · เจ้าจอมมารดาเขียน · เจ้าจอมมารดาชุ่ม · เจ้าจอมมารดาเพ็ง · เจ้าจอมมารดาเหม · เจ้าจอมมารดาวาด · เจ้าจอมมารดาห่วง · เจ้าจอมมารดาแสง · เจ้าจอมมารดาสุ่น · เจ้าจอมมารดาหว้า · เจ้าจอมมารดาเชย · เจ้าจอมมารดาพุ่ม · เจ้าจอมมารดาอิ่ม ·
เจ้าจอมมารดาทับทิม · เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ · เจ้าจอมเล็ก · เจ้าจอมอิ่ม · เจ้าจอมรุน · เจ้าจอมหนูสุด · เจ้าจอมวัน · เจ้าจอมหนูชี · เจ้าจอมบุนนาค ·
พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 13 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1218 ตรงกับ พ.ศ. 2399
พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 7 ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1220 ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401
พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี) ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอกฏทศก จ.ศ. 1222 ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403
พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอจัตวาศก จ.ศ. 1224 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2405
พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. 1227 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408
Wednesday, October 10, 2007
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน
ค้นหา พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา
Tuesday, October 9, 2007
การก่อตัว
การรวมกลุ่มของชาวไทยเชื้อสายมลายูในยุคนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 สาเหตุ อย่างแรกคือ ไม่พอใจนโยบายรัฐบาลที่รู้สึกว่าเป็นการกดขี่พวกเขา อย่างที่สองคือ รวมตัวกันต่อสู้กับโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาที่มักข้ามแดนมารังควานชาวไทยกลุ่มนี้เป็นประจำ ซึ่งพวกเขาไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐเพราะมีความระแวงกันอยู่เป็นทุนเดิม ความระแวงซึ่งกันและกันนี้เป็นให้เกิดความรุนแรงขึ้นในที่สุด ทั้งโดยความเข้าใจผิดและถูกยุยงจากผู้ไม่หวังดี
ลำดับเหตุการณ์ในพื้นที่เป็นดังต่อไปนี้
24 เมษายน เจ้าหน้าที่รัฐได้รับรายงานว่า หะยีสะแมงฟันนายบุนกี (จีนเข้ารีตอิสลาม) ได้รับบาดเจ็บสาหัส
25 เมษายน ตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองรวม 4 นาย เข้าไปตรวจเหตุการณ์ในหมู่บ้าน ถูกพวกก่อการจลาจลราว 30 คนถือดาบไล่ฟัน จนต้องหนีออกจากหมู่บ้าน
26 เมษายน
การรวมกลุ่มของชาวไทยเชื้อสายมลายูในยุคนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 สาเหตุ อย่างแรกคือ ไม่พอใจนโยบายรัฐบาลที่รู้สึกว่าเป็นการกดขี่พวกเขา อย่างที่สองคือ รวมตัวกันต่อสู้กับโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาที่มักข้ามแดนมารังควานชาวไทยกลุ่มนี้เป็นประจำ ซึ่งพวกเขาไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐเพราะมีความระแวงกันอยู่เป็นทุนเดิม ความระแวงซึ่งกันและกันนี้เป็นให้เกิดความรุนแรงขึ้นในที่สุด ทั้งโดยความเข้าใจผิดและถูกยุยงจากผู้ไม่หวังดี
ลำดับเหตุการณ์ในพื้นที่เป็นดังต่อไปนี้
24 เมษายน เจ้าหน้าที่รัฐได้รับรายงานว่า หะยีสะแมงฟันนายบุนกี (จีนเข้ารีตอิสลาม) ได้รับบาดเจ็บสาหัส
25 เมษายน ตำรวจและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองรวม 4 นาย เข้าไปตรวจเหตุการณ์ในหมู่บ้าน ถูกพวกก่อการจลาจลราว 30 คนถือดาบไล่ฟัน จนต้องหนีออกจากหมู่บ้าน
26 เมษายน
- ตอนเช้า ตำรวจราว 28 นาย นำโดย ร.ต.อ. บุญเลิศ เลิศปรีชา ยกเข้ามาที่ตลาดดุซงญอและส่งตำรวจ 4 นาย คือ สิบตรีสง รุ่งเรือง พลฯสมัคร ประดิษฐ์ สุวรรณภักดี พลฯสมัคร บุญ กล้าหาญ และพลฯสมัคร สมศักดิ์ แหวนสำริด ไปเป็นกองล่อให้ฝ่ายจลาจลแสดงตัว ผลปรากฏว่าฝ่ายจลาจลมีกำลังมากกว่า ฝ่ายตำรวจต้องล่าถอย ตำรวจที่เป็นกองล่อทั้ง 4 นายเสียชีวิตทั้งหมด
ตอนค่ำ กำลังตำรวจจากจังหวัดใกล้เคียงคือ จ.ยะลา 20 นาย จ.ปัตตานี 30 นาย อ.สุไหงปาดี 8 นายยกมาสมทบและรวมกำลังกันที่ตำบลกรีซา 1 คืน
27 เมษายน กำลังตำรวจจากจ.สงขลาอีก 20 นาย มาถึง ต.กรีซา เริ่มยกพลเข้าหมู่บ้านดุซงญอ ปะทะกับพวกจลาจล ยิงโต้ตอบกันราว 3 ชั่วโมง ฝ่ายตำรวจจึงล่าถอย ระหว่างถอย พลฯสมัคร วิน ไกรเลิศถูกฝ่ายจลาจลยิงเสียชีวิต
28 เมษายน กำลังตำรวจเข้าโจมตีหมู่บ้านดุซงญออีกครั้ง และปราบปรามฝ่ายจลาจลได้เด็ดขาด เหตุการณ์ในพื้นที่
ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์
จอมพล ป. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อสอบสวนหาสาเหตุโดยมีพระยาอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง) เป็นประธานกรรมการและ พ.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์เป็นรองประธาน ระหว่างการสอบสวน ทางจ.นราธิวาสส่งโทรเลขเข้ามาขอกำลังทหาร ทางรัฐบาลตัดสินใจส่งเรือรบ 3 ลำที่ซ้อมรบในบริเวณนั้น และเครื่องบิน 1 ฝูง เข้าไป แต่เหตุการณ์สงบลงเสียก่อน
คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งได้ลงไปสำรวจบริเวณที่เกิดเหตุ ผลการสอบสวนของคณะกรรมการ แจ้งว่าการจลาจลเกิดจากความเข้าใจผิด ราษฎรมาชุมนุมกันมากเพื่อเข้าร่วมพิธีทางไสยศาสตร์ จนเป็นที่ผิดสังเกตของตำรวจ จึงขอเข้าตรวจค้น ชาวบ้านไม่ยอมจึงเกิดการปะทะกัน
ปฏิกิริยาของฝ่ายรัฐบาล
ผลจากการปราบปรามครั้งนี้ฝ่ายชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในพื้นที่ไม่พอใจการกระทำของรัฐมาก ดังที่เขียนไว้ในงานเขียนของอิมรอนว่า
ปฏิกิริยาของคนในพื้นที่
นายจรูญ สืบแสง ส.ส.ปัตตานี และนายบรรจง ศรีจรูญ ประธานสันนิบาตไทยอิสลาม ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลดูแลและปรับปรุงความเป็นอยู่ของชาวไทยในมุสลิมให้ดีขึ้น ขอให้มีเสรีภาพทางศาสนา วัฒนธรรมและการศึกษา ซึ่งทางรัฐบาลได้รับหลักการไว้พิจารณา
ปฏิกิริยาจากสหพันธรัฐมลายา
อนุสาวรีย์ลูกปืนเป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์กบฏดุซงญอแต่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ตั้งอยู่ภายในบริเวณสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส สร้างเป็นรูปลูกกระสุนปืน ตั้งอยู่บนฐานทรงกลม 3 ชั้น สูง 36, 30, และ 30 เซนติเมตรตามลำดับจากล่างขึ้นบน ตัวกระสุนปืนมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 34 เซนติเมตร ส่วนปลอกกระสุนสูง 150 เซนติเมตร มีช่องสี่เหลี่ยมในส่วนใกล้หัวกระสุนซึ่งสูง 25 เซนติเมตร รวมความสูงของกระสุนปืน 245 เซนติเมตร กล่าวกันว่ามีการบรรจุกระดูกของตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กบฏดุซงญอไว้ภายใน
Monday, October 8, 2007
เมืองเกียวโตะ (「京都市」, Kyōto-shi, 京都市) ทีลักษณะคล้ายๆกับเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเกียวโต อดีตเมืองหลวงเก่าของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 1,200 ปีก่อน ในเมืองเกียวโตะมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย อาทิ เช่น วัดคินคาคุจิถูกสร้างเมื่อปี พ.ศ. 1940 เป็นวัดที่ถูกสร้างโดยอาชิคางะ โยะชิมิสึ ซึ่งเป็นโชกุนแห่งรัฐบาลมุโระมะจิ วัดคิงคาคุจินี้สร้างจากทอง ปัจจุบันนี้ มีผู้มาเยี่ยมชมมากมาย และยังมีอะมะโนะฮะชิดะเตะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของสถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่นซึ่งมีความสวยงาม
Friday, October 5, 2007
เพชรพยัคฆราช หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Diamonds Are Forever เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 7 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรี่ส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น(EON)จัดทำขึ้น เป็นเรื่องที่ 6 และเรื่องสุดท้ายที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเจมส์บอนด์ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2514 กำกับโดย กาย ฮามิลตัน(Guy Hamilton)
ใช้ทุนสร้างรวมทั้งหมด 7,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 36,112,950 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2549
กวาดรายได้รวมทั้งหมด 116,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 581,819,757 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2549
Thursday, October 4, 2007
Wednesday, October 3, 2007
เพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents)
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 12 - 72 ชม.
ตัวอย่างยานี้คือ ดูคูเซต (docusate-Colace, Diocto). ยาประเภททำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants)
เช่น เอ ดี อี และ เค น้อยลงอาจทำให้ร่างกายขาดไวตามินเหล่านี้ได้
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 6 - 8 ชม.
ตัวอย่างยานี้คือน้ำมันแร่ (mineral oil) ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คือ ทำให้การดูดซึมไวตามินประเภทที่ละลายในน้ำมัน ยาประเภทหล่อลื่น (Lubricants / Emollient)
ตัวอย่างยาเหล่านี้คือ
มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
เกลือยิปซั่ม (Epsom salt) ยาประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (Hydrating agents (osmotics))
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
ตัวอย่างยาเหล่านี้คือ
โมโนเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Monobasic sodium phosphate)
ไดเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Dibasic sodium phosphate)
แมกนีเซียม ซิเตรต (Magnesium citrate)
มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
แมกนีเซียม ซัลเฟต (Magnesium sulphate)
โซเดียม ไบฟอสเฟต (Sodium biphosphate) ยาประเภทน้ำเกลือ (Saline)
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
ตัวอย่างยาเหล่านี้เป็นยาประเภทยาเหนบ (suppositories)ได้แก่
กลีเซอรีน (Glycerin)
แลคตูโลส (Lactulose) ประเภทกระตุ้น (Stimulant / Irritant)
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 12 - 72 ชม.
ตัวอย่างยานี้คือ ดูคูเซต (docusate-Colace, Diocto). ยาประเภททำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants)
เช่น เอ ดี อี และ เค น้อยลงอาจทำให้ร่างกายขาดไวตามินเหล่านี้ได้
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 6 - 8 ชม.
ตัวอย่างยานี้คือน้ำมันแร่ (mineral oil) ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คือ ทำให้การดูดซึมไวตามินประเภทที่ละลายในน้ำมัน ยาประเภทหล่อลื่น (Lubricants / Emollient)
ตัวอย่างยาเหล่านี้คือ
มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
เกลือยิปซั่ม (Epsom salt) ยาประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (Hydrating agents (osmotics))
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
ตัวอย่างยาเหล่านี้คือ
โมโนเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Monobasic sodium phosphate)
ไดเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Dibasic sodium phosphate)
แมกนีเซียม ซิเตรต (Magnesium citrate)
มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
แมกนีเซียม ซัลเฟต (Magnesium sulphate)
โซเดียม ไบฟอสเฟต (Sodium biphosphate) ยาประเภทน้ำเกลือ (Saline)
ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
ตัวอย่างยาเหล่านี้เป็นยาประเภทยาเหนบ (suppositories)ได้แก่
กลีเซอรีน (Glycerin)
แลคตูโลส (Lactulose) ประเภทกระตุ้น (Stimulant / Irritant)
Tuesday, October 2, 2007
ซอยสุรเสนา หรือ ซอยสีลม 5 เป็นถนนซอยอยู่บนถนนสีลม ข้างธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีร้านขายเสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับ สินค้าแบรนด์เนม ของคนวัยทำงานหลายร้าน เป็นที่นิยมจับจ่ายของพนักงานบริษัทในย่านนั้นระหว่างช่วงพักกลางวัน โดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 11.00-13.00 น. ในวันธรรมดา จึงเรียกเล่นๆว่า "ซอยละลายทรัพย์" เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
Monday, October 1, 2007
Sunday, September 30, 2007
อำเภอพรหมพิราม เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอพรหมพิรามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 119 หมู่บ้าน ได้แก่
พรหมพิราม (Phrom Phiram)
ท่าช้าง (Tha Chang)
วงฆ้อง (Wong Khong)
มะตูม (Matum)
หอกลอง (Ho Klong)
ศรีภิรมย์ (Si Phirom)
ตลุกเทียม (Taluk Thiam)
วังวน (Wang Won)
หนองแขม (Nong Khaem)
มะต้อง (Matong)
ทับยายเชียง (Thap Yai Chiang)
ดงประคำ (Dong Prakham)
Saturday, September 29, 2007
Friday, September 28, 2007
สัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า กระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ
สัตว์น้ำต่างถิ่น
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ดูที่: ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
สัตว์น้ำต่างถิ่น หมายถึงสัตว์น้ำที่ไม่ได้อยู่ หรือมีถิ่นกำเนิดในท้องที่หรือสิ้งแวดล้อมนั้นๆ โดยอาจจะถูกนำมาทั้งด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของมนุษย์ หรืออาจมาอยู่ ณ สถานที่นั้นๆด้วยอุบัติเหตุทางธรรมชาติ สำหรับสัตว์น้ำต่างถิ่นในประเทศไทย ได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ ปลาเงินปลาทอง (Carassius auratus) เพื่อใช้เพาะเลี้ยงเป็นอาหารและสัตว์น้ำสวยงาม ปัจจุบันพบว่ามีสัตว์ฺน้ำต่างถิ่นในประเทศไทยมากกว่า 1,100 ชนิด จากประเทศต่าง ๆ เช่น ปลา ประมาณ 1,000 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประมาณ 50 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน ประมาณ 50 ชนิด หอย 3 ชนิด กุ้ง ปู 8 ชนิด
Thursday, September 27, 2007
ท่าราชวรดิฐตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ท่าราชวรดิฐเป็นท่าเทียบเรือพระทีนั่ง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง เดิมเป็นที่ตั้งของพระตำหนักน้ำซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคานเหมือนเรือนแพ มีหลังคามุงกระเบื้อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักของเดิมเสีย แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่งเป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิมานต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้านมีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา ข้างเหนือขึ้นไปทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่าหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นท่าเรือรับส่งข้าราชการทหารเรือและประชาชนทั่วไปข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรีขึ้นตรงท่าของกรมอู่ทหารเรือ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งในบริเวณท่าราชวรดิฐชำรุดจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมรักษาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยไว้ นอกนั้นให้รื้อเสีย ปัจจุบันท่าราชวรดิฐยังเป็นที่เสด็จประทับในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
Wednesday, September 26, 2007
Tuesday, September 25, 2007
Monday, September 24, 2007
Sunday, September 23, 2007
พีระมิดเมนคูเร หรือ พีระมิดเมนคาวเร (Menkaure) เป็นหนึ่งในพีระมิดในประเทศอียิปต์ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงกีซา ชานกรุงไคโร สร้างโดยคำบัญชาของฟาโรห์เมนคูเร หรือชื่อในภาษากรีกคือฟาโรห์ไมซีรีนัส (Micerinus) ทรงเป็นราชโอรสของ ฟาโรห์คาเฟร
ฟาโรห์เมนคูเรได้สร้างพีระมิด ขึ้นเป็นหลังที่สามที่ความสูง 65.5 เมตร (ปัจจุบันคงเหลือความสูง 62 เมตร) ฐานแต่ละด้านกว้างประมาณ 105 เมตร และเอียงทำมุมประมาณ 51 องศา ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า แต่ก็ยังสูงประมาณอาคาร 18 ชั้น (เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.6 เมตร) สำหรับพีระมิดเมนคูเรนี้ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า หากนับตำแหน่งมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของพีระมิดเมนคูเร เป็นตำแหน่งอ้างอิง และหากพีระมิดเมนคูเรมีขนาดใหญ่ประมาณเท่ากับพีระมิดคาเฟร มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพีระมิดจะต่อกับมุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของพีระมิดคาเฟรพอดี และมีระยะห่างกันเท่ากับระยะระหว่างพีระมิดคูฟูและคีคาเฟร นั่นคือเป็นไปได้ว่าเดิมการก่อสร้างพีระมิดเมนคูเร อาจมีความตั้งใจสร้างให้มีขนาดเท่ากับพีระมิดแห่งกีซา 2 องค์ก่อนหน้า แต่ภายหลังได้ตัดสินใจก่อสร้างเป็นขนาดเล็กอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
Saturday, September 22, 2007
โบอิง 7J7 เป็นอากาศยานที่ออกแบบโดยโบอิง มีพิสัยบินระยะใกล้ถึงปานกลาง จุผู้โดยสารประมาณ 150 ที่นั่ง พร้อมเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น โดยมีแผนที่จะออกให้บริการในปีพ.ศ. 2535 แต่ก็ยกเลิกโครงการไปในปีพ.ศ. 2530 เนื่องจากเกิดวิกฤตราคาน้ำมันในขณะนั้น ภายหลังจึงได้นำเอาเทคโนโลยีที่คิดได้ใหม่ ไปใช้กับ โบอิง 737 และโบอิง 757
รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
แอร์บัส เอ 320
โบอิง 727
โบอิง 737
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-95
Friday, September 21, 2007
Thursday, September 20, 2007
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธ
ค้นหา วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธ ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธ
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธ ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา
Wednesday, September 19, 2007
พระเจ้าซองจงเป็นกษัตริย์ในลำดับที่ 9 ของราชวงศ์โชซอน ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2012 - พ.ศ. 2037 พระองค์ทรงครองราชย์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาวน์ ก่อนหน้ารัชสมัยของพระองค์ก็เกิดความวุ่นวายในการแย่งชิงอำนาจในราชสำนัก ซึ่งหลังจากพระองค์ได้ครองราชย์ก็ได้กวาดล้างขุนนางเก่าที่สนับสนุนกษัตริย์พระองค์ก่อน ต่อมาเมื่อพระเจ้าซองจงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2037 องค์ชายยอนซันกุน ได้เถลิงอำนาจต่อจากพระบิดา
Tuesday, September 18, 2007
อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
ชนิดของอุทกภัย
น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา ต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย.
น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
Monday, September 17, 2007
การบำบัด (Therapy เป็นคำใน ภาษากรีก: θεραπεία) หรือ การรักษา คือความพยายาม แก้ไข (remediation) ปัญหาสุขภาพตาม การวินิจฉัย (diagnosis)
วิธีการรักษาจากการแพทย์ตะวันตก การแพทย์ตะวันออกโดยเฉพาะจากจีน และการแพทย์ทางเลือก มีดังนี้:
การฝังเข็ม (acupuncture)
อะโกราเธอราปี่ (agoratherapy)
กลิ่นหอมบำบัด (aromatherapy)
ศิลปบำบัด (art therapy)
สีบำบัด (colour therapy)
รักษาด้วยผลึก (crystal healing)
เภสัชบำบัด (drug therapy)
ไดเวอร์ชันแนลเธอราปี่ (diversional therapy)
วารีบำบัด (hydrotherapy)
ไฮเปอร์บาริกออกซิเจนเธอราปี่ (hyperbaric oxygen therapy)
รักษาโดยกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive therapy)
แสงบำบัด (light therapy)
แม่เหล็กบำบัด (magnet therapy)
การนวด (massage therapy)
เทโซเธอราปี่ (mesotherapy)
มอริตา (morita)
มอกซิบัสชั่น (moxibustion)
ดนตรีบำบัด (music therapy)
นัยกัน (naikan)
อาชีพบำบัด (occupational therapy)
เฟจเธอราปี่ (phage therapy)
กายภาพบำบัด (physical therapy) หรือ (physiotherapy) หรือ (play therapy)
โพสเทอรัล อินทีเกรชั่น (postural integration)
จิตบำบัด (psychotherapy) ตัวอย่างเช่น
- คอกนิตีฟเธอราปี่(cognitive therapy),
เกสตัลต์เธอราปี่ (Gestalt therapy),
กลุ่มบำบัด (group therapy))
รังสีบำบัด (radiation therapy)
นันทนาการบำบัด (recreational therapy)
กระบะทรายบำบัด (sand tray therapy)
เพศบำบัด (sex therapy)
ชอคบำบัด (shock therapy) ตัวอย่างเช่น
- อิเล็กโตรคอนวัลซีฟเธอราปี่ (electroconvulsive therapy)
สแปงคิงเธอราปี่ (Spanking therapy)
สพีชเธอราปี่ (speech therapy)
ศัลยกรรม (surgery)
ตุยนา (tui na)
หนอนบำบัด (Maggot therapy)
- อิเล็กโตรคอนวัลซีฟเธอราปี่ (electroconvulsive therapy)
Friday, September 14, 2007
ไฮแรม บิงแฮม (Hiram Bingham III – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2418 - 6 มิถุนายน 2499) นักสำรวจ นักวิชาการ และวุฒิสมาชิกชาวอเมริกัน ผลงานที่โดดเด่นคือ การค้นพบที่ตั้งถิ่นฐานของชาวอินคา ในเมืองมาชูปิกชู เมื่อ พ.ศ. 2454 ภายหลังบิงแฮมได้เป็นผู้ว่าการรัฐคอนเน็คติคัต และสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา
ไฮแรม บิงแฮมเกิดที่ฮอโนลูลู ราชอาณาจักรฮาวาย เป็นบุตรของมิสชันนารีนิกายโปรเตสแตนท์ชาวอเมริกัน ศึกษาและเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล (พ.ศ. 2441) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์คลีย์ (พ.ศ. 2443) และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2448) เข้าเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์และการเมืองที่ฮารร์วาร์ด ไปรับตำแห่งอาจารย์ผู้ช่วยของวูดโรว์ วิลสัน (ต่อมาเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ) และในปี พ.ศ. 2450 มหาวิทยาลัยเยลได้แต่งตั้งบิงแฮมเป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์อเมริกาใต้และต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชานี้
ชีวิตทหารและนักการเมือง
บิงแฮมถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ที่บ้าน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ศพของเขาถูกนำไปฝังในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน ในมืองอาร์ลิงตัน มลรัฐเวอร์จิเนีย บุตรชายของเขา คือ ไฮแรม บิงแฮม ที่ 4 เป็นนักการทูต และวีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่บุตรอีกคน คือ โจนาธาน บรูสเตอร์ บิงแฮม เป็นสมาชิกพรรคเดโมแครต ในสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา
Thursday, September 13, 2007
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งอยู่ใกล้สะพานกษัตริย์ศึกและสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง)กรุงเทพมหานคร
รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 25 ชันษาพอดี พระองค์จึงโปรดฯ ให้สถาปนา วัด เทพศิรินทราวาส ขึ้น เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และ ทรงอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี ซึ่งทรงสิ้นพระชนม์ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์
วันที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2421 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนา พระอริยมุนี มาจากวัดบวรนิเวศ พร้อมด้วย พระฐานานุกรม 3 รูป พระอันดับ 16 รูป สามเณร 3 รูป รวม 23 รูป มาอยู่วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แล้วประกาศ พระราชทานวิสุงคามสีมา และ พระราชทานนามอารามแห่งนี้ว่า วัดเทพศิรินทราวาส ตามพระนามแห่งองค์พระราชชนนี
สถาปัตยกรรมสำคัญได้แก่ พระอุโบสถของวัดเทพศิรินทราวาส มีขนาดใหญ่และตกแต่งอย่างงดงาม ด้วยลายรดน้ำและซุ้มประตูหน้าต่าง เพดานสลักรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ เช่น พระนิรันตรายซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 4 ซึ่งอันเชิญมาเมื่อ พ.ศ. 2421 ตามพระราชประสงค์รัชกาลที่ 4
การวางแผนผังวัดเทพศิรินทราวาสนี้ ถือว่าเป็นแปลนที่เหมาะสม ที่โรงเรียนอยู่ทางด้านตะวันออก หน้าวัดและเขตพุทธาวาสอยู่ส่วนกลาง และสุสานอยู่ด้านตะวันตก ดุจชีวิตคนซึ่งเดินตามดวงตะวัน เริ่มด้วยวัยเด็ก วัยกลางคน และปัจฉิมวัยซึ่งไปสุดสิ้นที่สุสาน สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
และใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯให้สร้างสุสานหลวงไว้ในวัด ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชวงศ์ซึ่งไม่ได้สร้างพระเมรุฯ ที่ท้องสนามหลวงและสำหรับชนทุกชั้น นับเป็นเรื่องพิเศษ เนื่องจากโดยปกติแล้วจะไม่มีฌาปนสถานในพระอารามหลวง
Subscribe to:
Posts (Atom)