Wednesday, August 8, 2007


คำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งคำหรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายใช้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป

คำในภาษาไทย =
คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ สถานที่ต่างๆ ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น ความรัก การให้ ความดี ความชั่ว ครู นักเรียน ตำรวจ ทหาร แพทย์ พยาบาล ช้าง ม้า วัว ควาย กวาง นก กุ้ง หอย ปู ปลา ปะการัง โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา ท้องฟ้า ต้นไม้ น้ำตก ภูเขา บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม วัด เป็นต้น คำนาม แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

คำนาม
คือ คำนามที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ กระเป๋า นักเรียน ครู หนังสือ ชิงช้า นักกีฬา สุขภาพ เป็ด นก หมู ช้าง ม้า วัว ควาย พัดลม ทหาร วัด

1.คำนามทั่วไป(สามานยนาม)
คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือเป็นคำเรียกบุคคล สัตว์ สิ่งของ ตลอดจนสถานที่ต่างๆ เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนใด สิ่งใด หรือที่ไหน เช่น

คุณสมศักดิ์ คุณอรุณ นายวิมล นางวิชุดา
ชลบุรี นนทบุรี กาญจนบุรี พังแป้น พลายชุมพล วันจันทร์ วันศุกร์
บ้านรื่นฤดี วัดบวรนิเวศ โรงเรียนสงวนหญิง โรงแรมโนโวเทล
หลักภาษาไทยพระยาอุปกิตศิลปสาร สามก๊ก พระไตรปิฎก
วารสารศิลปวัฒนธรรม พลอยแกมเพชร ไทยรัฐ 2.คำนามชี้เฉพาะ(วิสามานยนาม)
คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่นๆ เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนาม มักจะอยู่หลังคำบอกจำนวน และแยกได้เป็นหลายชนิด คือ

ลักษณนามบอกสัณฐาน เช่น วง ตน ใบ ตับ
ลักษณนามบอกการจำแนก เช่น กอง หมวด ฝูง คณะ
ลักษณนามบอกปริมาณ เช่น คู่ โหล กุลี หีบ
ลักษณนามบอกเวลา เช่น นาที วัน เดือน ปี
ลักษณนามบอกวิธีทำ เช่น จีบ ม้วน มัด พับ กำ
ลักษณนามอื่นๆ เช่น พระองค์ รูป ตัวเรื่อง อัน เชือก 3.คำนามบอกลักษณะ(ลักษณนาม)
คือ คำนามที่บอกหมวดหมู่ของนามข้างหลังที่รวมกันมากๆ เช่น โขลงช้าง ฝูงนก ฝูงปลา คณะครูอาจารย์ คณะนักเรียน คณะสงฆ์ พวกกรรมกร หมู่สัตว์ หมวดศัพท์ ชุดข้อสอบ โรงหนัง แบบทรงผม

4.คำนามบอกหมวดหมู่(สมุหนาม)
คือ คำนามที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า"การ"หรือ"ความ"นำหน้า เช่น ความดี ความชั่ว ความรัก ความสวย ความงาม ความจริง ความเร็ว การเกิด การตาย การเรียน การงาน การวิ่ง การศึกษา

5.คำนามบอกอาการ(อาการนาม)
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ แบ่งเป็น 7 ชนิด คือ

คำสรรพนาม
ได้แก่
สรรพนามบุรุษที่ 1 แทนชื่อผู้พูด เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม กู ข้า ข้าพเจ้า เรา อาตมา เกล้ากระผม เกล้ากระหม่อม ฯลฯ
สรรพนามบุรุษที่ 2 แทนชื่อผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ท่าน เจ้า เอ็ง มึง แก โยม พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯลฯ
สรรพนามบุรุษที่ 3 แทนชื่อผู้กล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน เธอ แก พระองค์ท่าน ฯลฯ 1.สรรพนามแทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง(บุรุษสรรพนาม)
สรรพนามชนิดนี้ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้หรือไกลผู้พูด ได้แก่ นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น "นี่บ้านกำนัน" "นี่ของใคร" "นั่นมหาวิทยาลัย" "นั่นนักร้องยอดนิยม" "โน่นโรงเรียน" "โน่นไงบ้านของฉัน" "ห้ามนั่งตรงนั้นนะ"

2.สรรพนามชี้เฉพาะ(นิยมสรรพนาม)
คือ สรรพนามใช้แทนนามในประโยคคำถาม(ต้องการคำตอบ)ได้แก่ ใคร อะไร อย่างไร ผู้ใด สิ่งใด ที่ไหน เช่น "ใครมา" "ครต้องการไปกับพวกเราบ้าง" "อะไรทำให้เขาเปลี่ยนไป" "อะไรอยู่บนโต๊ะ" "พวกเราต้องทำตัวอย่างไร" "เธอกำลังจะไปไหน" "ใครจะไปเที่ยวดอยตุงบ้าง" "สิ่งใดน่าจะดีที่สุด"

3.สรรพนามใช้ถาม(ปฤจฉาสรรพนาม)
คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่ไม่กำหนดแน่นอนมักใช้ในประโยคที่มีความหมายแสดงความไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด ที่ไหน เช่น "ครูไม่เห็นใครเลย" "อะไรๆ ก็อร่อยไปหมด" "อะไรๆ ก็ทานได้" "ใครๆ ก็ขอบความน่ารักของเขา" "ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง" "ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนไม่สุขใจเหมือนอยู่บ้าน"
4.สรรพนามบอกความไม่เจาะจง(อนิยมสรรพนาม)
คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแยกนามออกเป็นส่วนๆ หรือบอกให้รู้ว่ามีนามอยู่หลายส่วนและแสดงกริยาร่วมกันหรือต่างกัน ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น "นักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือบ้างก็นอนหลับ" "ผู้คนต่างแย่งชิงกันเข้าชมการแข่งขันเทนนิส" "นักกีฬาต่างแสดงฝีมือเต็มที่" "ทุกคนต่างมีหน้าที่ของตนเอง" "เขาทั้งสองคนนั้นรักกันจริง" "ชาวบ้านบ้างก็ทำนา บ้างก็ทำสวน บ้างก็เลี้ยงสัตว์" "พี่กับน้องทะเลาะกัน"
5.สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ หรือสรรพนามแบ่งพวก รวมพวก (วิภาคสรรพนาม)
คือ สรรพนามที่ทำหน้าทแทนนามข้างหน้าและเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวพันกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น "บุคคลที่ประพฤติดีทั้งต่อหน้าและลับหลังย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป" "ผมชอบเสื้อที่คุณแม่ซื้อให้" "ฉันได้รับจดหมายซึ่งเธอส่งมาให้ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษแล้ว" "ครูให้รางวัลนักเรียนซึ่งเรียนดี" "บทเพลงอันไพเราะได้รับรางวัล" "ชัยชนะอันได้มาอย่างยากยิ่งครั้งนี้จะอยู่ในความทรงจำของเราตลอดไป" "บุคคลที่ประสงค์ร้ายต่อชาติถูกตำรวจจับ"
6.สรรพนามเชื่อมประโยค(ประพันธสรรพนาม)
คือ สรรพนามที่มักเรียงไว้หลังคำนามเพื่อเน้นนามที่อยู่ข้างหน้าและยังช่วยแสดงความรู้สึกของผู้พูดด้วย อาจเป็นความรู้สึกในเชิงยกย่อง คุ้นเคย ดูหมิ่น เกลียดชัง หรือความรู้สึกอื่นๆ เช่น "คุณยายท่านเป็นห่วงหลานๆ มาก" (ยกย่อง) "เพื่อนๆ ของลูกเขาจะมาสนุกกัน" (คุ้นเคย) "คุณฉวีวรรณเธอชอบเล่นดนตรีไทย" (คุ้นเคย) "ระวังมนุษย์เจ้าเล่ห์มันจะฉวยโอกาส" (เกลียดชัง)
7.สรรพนามใช้เน้นนามที่อยู่ข้างหน้า
คำกริยา คือ คำแสดงอาการของคำนามหรือสรรพนาม หรือคำบอกสภาพที่เป็นอยู่ เช่น "น้องทำการบ้าน" "ฉันเป็นหวัด" "ไก่ขัน" "นกร้องเพลง" คำกริยา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1.กริยาไม่ต้องมีกรรม(อกรรมกริยา)
คือ กริยาที่มีใจความไม่สมบูรณ์ขาดความชัดเจน จึงต้องมีกรรมมารับข้างท้าย เช่น "คุณแม่ทำขนมทุกวัน" "คุณตาปลูกผักสวนครัว" ฉันขลิบ...(ปลายเสื้อ) "คุณพ่อทำอาหาร" "ตำรวจจับผู้ร้าย" ฉันตัด...(ต้นไม้) "นกจิกข้าวโพด" "ฉันอ่านหนังสือ" "ครูชมลูกศิษย์" "สมใจเขียนจดหมาย"

2.กริยาที่ต้องมีกรรม(สกรรมกริยา)
คือ กริยาที่ไม่มีความชัดเจน ขาดความหมายที่กระจ่างชัดในตัวเอง ดังนั้นจะใช้กริยาตามลำพังตัวเองไม่ได้จะต้องมีคำนามหรือสรรพนามมาขยายจึงจะได้ความ ได้แก่คำว่า คือ เป็น คล้าย เหมือน เท่า ประดุจ ราวกับ ฯลฯ เช่น "นายประชาเป็นตำรวจ" "คุณย่าเป็นครู" "ติ๋มคล้ายคุณย่า" "แมวคล้ายเสือ" "ฉันเหมือนคุณยาย" "เธอคือคนแปลกหน้าของที่นี่"

3.กริยาที่อาศัยส่วนเติมเต็ม(วิกตรรถกริยา)
คือ คำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า อาจ ต้อง น่าจะ จะ คง คงต้อง คงจะ จง โปรด อย่า ช่วย แล้ว ถูก ได้รับ เคย ควร ให้ กำลัง ได้...แล้ว เคย...แล้ว น่าจะ...แล้ว ฯลฯ เช่น "ฝนอาจตก" "พี่คงกลับมาเร็วๆ นี้" "น้องต้องไปสอบแล้ว" "เด็กกำลังร้องไห้" "ขนมน่าจะสุกแล้ว" "นักเรียนควรส่งงานให้ตรงเวลา" "อย่ามาสายบ่อยๆ" "พี่ทำงานแล้ว" "เด็กๆ ควรดื่มนมก่อนนอน" "เขาเคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว"

4.กริยาช่วย(กริยานุเคราะห์)
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบคำอื่นๆ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น หรือคำที่ใช้ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อบอกเวลา บอกลักษณะ บอกจำนวน บอกขนาด บอกคุณภาพ บอกสถานที่ ฯลฯ อาจแบ่งได้ดังนี้
คำวิเศษณ์บอกลักษณะ "น้องคนเล็กชื่อเล็ก" "ถาดใบใหญ่ใส่ส้มผลเล็ก" คำวิเศษณ์บอกเวลา "เขามาสายทุกวัน" "ไปเดี๋ยวนี้" คำวิเศษณ์บอกสถานที่ "เขาเดินไกลออกไป" "เธอย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือ" คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน "ชนทั้งผอง พี่น้องกัน" "คนอ้วนมักกินจุ" คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ "อย่าพูดเช่นนั้นเลย" "บ้านนั้นทาสีสวย" คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ "คนอื่นไปกันหมดแล้ว" "สิ่งใดก็ไม่สำคัญเท่าความสามัคคี" คำวิเศษณ์แสดงคำถาม "ประเทศอะไรมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก" "น้องเธออายุเท่าไร" คำวิเศษณ์แสดงคำขาน "หวานจ๋าไปเที่ยวไหมจ๊ะ" "คุณครูคะ กรุณาอธิบายช้าๆ หน่อยเถอะค่ะ" คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ "คนที่ไม่รักชาติของตนเป็นคนที่คบไม่ได้" "บุญคุณของบุพการีประมาณมิได้" คำวิเศษณ์ขยายคำนาม "เด็กน้อยร้องไห้" (น้อย ขยาย เด็ก) "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" (ใหญ่-เล็ก ขยาย ปลา) "ฉันมีกระเป๋าใบโต" (โต ขยาย *กระเป๋า) "เด็กดีใครๆ ก็รัก" (ดี ขยาย เด็ก) คำวิเศษณ์ขยายสรรพนาม "พวกเราทั้งหมดเลือกคุณ" (ทั้งหมด ขยาย พวกเรา) "ฉันเองเป็นคนทำ" (เอง ขยาย ฉัน) "ท่านทั้งหลายโปรดเงียบ" (ทั้งหลาย ขยาย ท่าน) "ใครเล่าจะล่วงรู้ได้" (เล่า ขยาย ใคร) คำวิเศษณ์ขยายกริยา "ผู้ใหญ่บ้านตื่นแต่เช้า" (เช้า ขยาย ตื่น) "อย่ากินมูมมาม" (มูมมาม ขยาย กิน) "ฝนตกหนัก" (หนัก ขยาย ตก) "เขาดำน้ำทน" (ทน ขยาย ดำน้ำ) คำวิเศษณ์ขยายวิเศษณ์ "ม้าวิ่งเร็วมาก" (มาก ขยาย เร็ว) "พายุพัดแรงมาก" (มาก ขยาย แรง) "เขาท่องหนังสือหนักมาก" (มาก ขยาย หนัก) "เธอร้องเพลงเพราะจริงๆ" (จริงๆ ขยาย เพราะ) คำวิเศษณ์
คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค หรือข้อความกับข้อความ เมื่อเชื่อมแล้วจะได้ประโยคที่มีใจความดังนี้
คำสันธาน
ได้แก่ และ กับ ถ้า ก็ แล้ว จึง ฯลฯ เช่น "คุณพ่อและคุณแม่สอนการบ้านฉัน" "ฉันสวดมนต์ไหว้พระแล้วจึงเข้านอน" "ถ้าเขามีความสุข ฉันก็ยินดีด้วย"
๑.คำสันธานเชื่อมความคล้อยตามกัน
ได้แก่ แต่ กว่า ก็ ถึง...ก็ แม้ว่า...แต่ก็ ฯลฯ เช่น "ถึงเขาจะโกรธฉันก็ไม่กลัว" "เขาอยากมีเงิน แต่ไม่ทำงาน" "รถไฟแม้ว่าจะช้า แต่ก็ปลอดภัย"
๒.คำสันธานเชื่อมความขัดแย้งกัน
ได้แก่ หรือ มิฉะนั้น มิฉะนั้น...ก็ ไม่...ก็ ฯลฯ เช่น "เธอจะไปหัวหินหรือพัทยา"คำ "ไม่เธอก็ฉันต้องไปกับคุณแม่" "คุณต้องทำงานมิฉะนั้นจะไม่มีเงินใช้"
๓.คำสันธานเชื่อมความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ได้แก่ เพราะ...จึง ดังนั้น...จึง จึง เพราะฉะนั้น...จึง ฯลฯ เช่น "เพราะเขาขยันเขาจึงสอบได้" "ฉันกินไม่ได้ดังนั้นฉันจึงผอม" "หน้าแล้งใบไม้ร่วงเพราะฉะนั้นสนามจึงสกปรก"
๔.คำสันธานเชื่อมความที่เป็นเหตุผลกัน
คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำหรือคือคำที่โยงคำหน้าหรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่น หรือกลุ่มคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ เหตุผล ลักษณะ เวลา อาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ใน แก่ ของ ด้วย โดย กับ แต่ ต่อ ใกล้ ไกล ฯลฯ เช่น เขาเดินทางโดยเครื่องบิน (ลักษณะ) ฉันซ่อนเงินไว้ใต้หมอน (สถานที่) ครูต้องเสียสละเพื่อศิษย์ (เหตุผล) ฟันของน้องผุหลายซี่ (แสดงความเป็นเจ้าของ) ๑."กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น "ลุงไปกับป้า" (ร่วม) "ฉันเห็นกับตา" (กระชับ) ๒."แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น "คนไทยควรเห็นแก่ชาติ" "พ่อให้เงินแก่ลูก" ๓."แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น "ฉันจะกินแต่ผลไม้" "เขามาถึงโรงเรียนแต่เช้า" ๔."แด่" ใช้แทนคำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น "นักเรียนมอบดอกไม้แด่อาจารย์" "เขาถวายอาหารแด่พระสงฆ์" ๕."ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะ หน้าถัดไป เทียบจำนวน เช่น "ฉันต้องรายงานต่อที่ประชุม" "เขายื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ" ๖."ด้วย" ใช้นำหน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นเครื่องใช้ และใช้ประกอบคำกริยาแสดงว่าทำกริยาร่วมกัน เช่น "ยายกินข้าวด้วยมือ" "ผมขอทานข้าวด้วยคนนะ"
คำอุทาน
ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด เช่น

โกรธเคือง เช่น ชิชะ! ชะๆ! ดูดู๋! เหม่! ฯลฯ
ตกใจ ประหลาดใจ เช่น โอ้โฮ! ตายจริง! คุณพระช่วย! ว้าย! ฯลฯ
เจ็บปวด เช่น โอ๊ย! อุ๊ย! โอย! ฯลฯ
ประหม่า เก้อเขิน เช่น เอ้อ! อ้า! ฯลฯ

No comments: